Uamulet.com taradpra.com pramai.com taradnud24.com
Login | Register | Help
 
หลวงพ่อแก้ว วัดเคลือวัลย์ จ.ชลบุรี ประเทศไทย ( พระปิดตาเนื้อตะกั่ว ๓ องค์ พร้อมตลับทอง เดิม ๆ ) สภาพสวยงามแบบพอเพียง ณ. ขอ รับ
เขียนโดย tutung9 เมื่อ 6 กันยายน 2557 เวลา 21:13 น.
 


 
 
ประเภทรายการพระเครื่องที่เปิดประมูล :

มีสติสงบกายวาจา มีน้ำใจเมตตา ชีวิตย่อมอยู่ดีมีสุข เป็นที่รักของทุกคน 0894857104......

ประวัติวัดเครือวัลย์
ตำบลมะขามหย่ง  อำเภอเมือง  จังหวัดชลบุรี


วัดเครือวัลย์  ตั้งอยู่เลขที่ ๗๔๙ ถนนโพธิ์ทอง ตำบลมะขามหย่ง อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี วัดเครือวัลย์สร้าง เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2364 " หลวงพ่อแก้ว " ท่านได้ธุดงค์ผ่านมาทางภาคตะวันออก และได้มาพักแรมอยู่ ณ สถานที่แห่งหนึ่งในตัวเมืองจังหวัดชลบุรี ซึ่งในสมัยนั้น จังหวัดชลบุรี ยังเป็นป่ารกชัฏเต็มไปด้วยป่าไม้เบญจพรรณต่างๆ มองไปทางไหนก็พบแต่ความเวิ้งว้างว่างเปล่าของน้ำทะเล สาเหตุเนื่องมาจากผลของสงคราม ในช่วงที่สมเด็จพระเจ้าตากสินทำการกู้อิสรภาพนั่นเอง วัดวาอารามต่างๆ ที่ถูกทำลาย ก็ยังไม่ได้รับการฟื้นฟู ชาวบ้านที่อยู่ในถิ่นฐานนั้น ส่วนมากมีการศึกษาน้อย เพราะขาดการเหลียวแล จะเป็นด้วยวาสนาของชาวจังหวัดชลบุรีหรืออย่างไรไม่ทราบ ที่ทำให้ท่านธุดงค์ผ่านมาทางนี้ และด้วยเมตตาธรรมอันบริสุทธิ์ของท่าน ทำให้ท่านมีความคิดที่จะปลุกฝังญาติโยมในละแวกนั้น ให้เข้าถึงหลักธรรมของพระพุทธองค์ จึงปักกลดอยู่ที่นั้น เพราะความน่าเลื่อมใสของท่าน ชาวบ้านในละแวกนั้นต่างก็นำอาหารมาทำบุญ ส่วนชาวบ้านที่นิยมของขลัง เมื่อเห็นพระรุกขมูลมา อีกทั้งมีวัตรปฎิบัติแปลกว่าพระธุดงค์รูปอื่นก็เกิดความเลื่อมใส เข้าไปขอเครื่องรางของขลังกับท่าน ส่วนท่านเมื่อมีญาติโยมมาหาท่านก็เชื้อเชิญต้อนรับด้วยธัมมปฏิสันถาร เพราะท่านมีธรรมเป็นเครื่องให้ เมื่อใครเอ่ยปากขอของขลังจากท่าน ท่านก็ให้ของขลัง และของที่ให้ก็ดีจริงๆ อันประกอบไปด้วยบทคาถามหามนต์ขลัง เพราะการเดินธุดงค์ท่านจะหอบหิ้วเอาวัตถุของติดตัวมาด้วยนั้น ท่านคงหอบหิ้วไม่ไหวแน่ ท่านคงมีแต่บทคาถามหามนต์ขลังเท่านั้น เมื่อเขาออกปากท่านก็ให้ ตามหลักกตัญญกตเวทิตาธรรม ตามที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้ โดยให้คาถาบทภาวนา ระลึกถึงพระรัตนตรัย เมื่อญาติโยมในระแวกนั้นเกิดความเลื่อมใส ทำให้ท่านเริ่มบูรณะซากสลักหักพัง ของวัดร้างวัดหนึ่ง โดยได้รับความร่วมมือจากญาติโยมในละแวกนั้นเป็นอย่างดีจนพอใช้การได้แล้ว ท่านก็ได้ตั้งชื่อว่า " วัดเครือวัลย์ " คงถือเอานิมิตที่มีเถาวัลย์ปกคลุมอยู่มากมายนั่นเอง

วัดเครือวัลย์ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๒

เนื้อที่ที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา  กว้าง ๔๐ เมตร   ยาว ๘๐  เมตร
(  ข้อมูลดังกล่าวมาจากหนังสืออนุสรณ์ ทำบุญครบ ๑๐๐ ปี ของหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ จัดพิมพ์โดยพระชลธารมุนี เจ้าอาวาสวัดเครือวัลย์ เมื่อวันที่ ๓๑ ธันวาคม  ๒๕๑๙  พิมพ์ที่ โรงพิมพ์ชลวุฒิการพิมพ์ ถนนโพธิ์ทอง อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี  )


ประวัติหลวงพ่อแก้ว ผู้สร้างวัดเครือวัลย์
ตำบลมะขามหย่ง  อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี

หลวงพ่อแก้ววัดเครือวัลย์  มีชื่อเสียงก็เป็นที่รู้กันในวงการพระเครื่องมานานแล้ว หากใครต้องการวัตถุมงคลประเภทเมตตามหานิยม ส่วนมากอยากได้พระปิดตาหลวงพ่อแก้ววัดเครือวัลย์ มาครอบครอง  กิตติศัพท์เหล่านี้ จึงทำให้ท่านมีชื่อเสียง จนถึงกับเป็นที่รู้จัก และเคารพนับถือของสาธุชนทั่วไป โดยถึงกับวัดวาอารามต่างๆ ต้องนำชื่อของท่านไปตั้งเป็นชื่อของพระเครื่อง พร้อมกับเน้นหนักให้ญาติโยมรู้ว่า สร้างมาจาก "ผงของหลวงพ่อแก้ววัดเครือวัลย์"  จึงจะทำให้คนศรัทธาต้องการเช่านำไปบูชา  และคนที่มีวัตถุมงคลพระหลวงพ่อแก้วไว้ครอบครองจำนวนมาก อยากทราบว่า หลวงพ่อแก้ว มาจากไหน และมาสร้างวัดเครือวัลย์ได้อย่างไร หลังจากได้ค้นคว้าด้วยวิธีหลากหลาย  เช่น ห้องสมุด  เกจิอาจารย์วงการพระเครื่อง จึงทำให้ทราบว่า ท่านมาจากไหน และสร้างวัดเครือวัลย์ ตำบลมะขามหย่ง อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ได้อย่างไร ตามข้อมูลดังต่อไปนี้

"หลวงพ่อแก้ววัดเครือวัลย์"จากหลักฐานที่ค้นคว้าได้ หลวงพ่อแก้วท่านถือกำเนิดมาจากครอบครัวของชาวประมงค์ ทางจังหวัดเพชรบุรี เมื่อประมาณ พ.ศ.2337 เมื่อท่านมีอายุพอสมควรแล้ว บิดารมารดาของท่าน ก็ได้พาท่านไปฝากกับสมภารวัดในระแวกนั้น เพื่อให้ท่านได้มีโอกาสเล่าเรียนหนังสือ เพราะการศึกษาในสมัยนั้นยังไม่เจริญก้าวหน้า ต้องอาศัยเรียนจากวัด โดยมีพระสงฆ์เป็นผู้ให้ความรู้ ด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้วิถีชีวิตของท่านได้เปลี่ยนเส้นทางจากชาวประมงค์ กลายมาเป็นเด็กวัด และภายหลังได้เป็นหลวงพ่อแก้วในกาลต่อมา ดังที่รู้จักกันของสาธุชนทั่วๆ ไป ถึงทุกวันนี้
ชีวิตในปฐมวัย ในระหว่างที่ท่านได้ศึกษาเล่าเรียนอยู่ในวัดนั้น ปรากฏว่าท่านเป็นผู้มีอุปนิสัยแตกต่างไปจากเด็กทั่วๆไป คือ แทนที่ท่านจะเกเรหรือซุกซนตามวิสัยเด็กทั่วๆไป แต่ตรงกันข้าม ท่านกลับมีความสงบเสงี่ยมเรียบร้อย มีเมตตา กรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อเพื่อนๆ ตลอดจนสัตว์ต่างๆ ไม่ว่าสัตว์เล็กหรือสัตว์ใหญ่ที่อาศัยวัดเป็นอย่างดี ประกอบด้วยท่านเป็นผู้มีความวิริยะอุตสาหะและมีสติปัญญาอันชาญฉลาด ในการเรียนรู้วิชาการต่างๆ จนเป็นที่รักใคร่ของอาจารย์ครูสอนเป็นอันมาก ความแตกต่างที่ผิดไปจากวิสัยของเด็กนี้เอง ที่ทำให้สมภารเจ้าวัด เล็งเห็นว่า ถ้าเด็กคนนี้มีโอกาสบวชอยู่ในพระพุทธศาสนาแล้ว ต่อไปภายภาคหน้าจะเป็นกำลังอันสำคัญแก่พระศาสนา ด้วยเหตุนี้เอง ท่านสมภารเจ้าวัดได้บรรพชาเป็นสามเณรแก้ว ตั้งแต่นั้นมา
เมื่อท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรแล้ว ท่านได้ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย จนมีความรู้ความสามารถเป็นอย่างดี ครั้นเมื่อมีอายุครบบวชแล้ว ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา อาศัยที่ท่านมีความเพียร ความอดทนเป็นที่ตั้งอยู่แล้ว ท่านจึงมีความสนใจที่จะศึกษาค้นคว้าคำสอนในพระพุทธศาสนาให้แตกฉานยิ่งขึ้น จึงได้เข้ามาศึกษาบาลีไวยากรณ์ ซึ่งตามภาษาโบราณ เรียกกันว่า เรียนหนังสือใหญ่ ที่กรุงเทพฯ จนมีความรู้ความสามารถ เป็นอย่างยิ่ง

เมื่อท่านได้ศึกษาพระพุทธวจนะตามพระบาลี จนมีความรู้ความเข้าใจดีแล้ว อาศัยความที่ท่านเป็นผู้มีคุณธรรมสูง มาตั้งแต่วัยเด็ก ประกอบกับท่านได้ศึกษาหลักธรรมในพระพุทธศาสนา ของพระพุทธเจ้าอย่างขว้างขวาง เมื่อมีวิชาความรู้พอที่จะแนะนำสั่งสอนผู้อื่นได้แล้ว ท่านจึงตั้งใจจะจาริกแสวงบุญ โดยเผยแพร่พระพุทธวจนะ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข และเพื่ออนุเคราะห์แก่ชาวโลกเป็นอันมาก เพื่อแบ่งส่วนกุศล ความรู้ ให้แก่ผู้ที่สนใจหลักธรรม ในพระพุทธศาสนา ในสมัยนั้นตรงกับรัชกาลที่สอง ซึ่งวงการศาสนากำลังก้าวสู่ความเสื่อม ประกอบกับลัทธิศาสนาของประเทศทางฝ่ายตะวันตก ได้เข้ามาเผยแพร่วัฒนธรรมทางศาสนาอย่างมากมาย เพื่อที่จะปลูกฝังให้คนไทยลืมสัจจธรรมอันแท้จริงของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า การทำครั้งนั้นนับว่ามีอิทธิพลมากต่อสภาพบ้านเมืองของเราในขณะนั้น เมื่อเหตุการณเป็นเช่นนั้น ถ้าหากว่า ทางบ้านเมืองหรือในวงการพระศาสนาไม่มีการตื่นตัวแล้วไซร้ ศาสนาพุทธในประเทศไทย ก็คงถูกกลืนหายไปในเวลานั้นเป็นแน่ "หลวงพ่อแก้ว" ในฐานะที่ ท่านมีความเมตตากรุณาเป็นที่ตั้ง ซึ่งเราก็ได้ทราบกันดีมาแล้ว ท่านจึงตกลงใจในอันที่จะออกประกาศสัจจธรรมแก่ชาวโลก ประกอบกับท่านมีความประสงค์ที่จะท่องเที่ยวโดยการเดินธุดงค์ เพื่อแสวงหาความวิเวกทางกายและใจ ดังนั้น ท่านจึงเริ่มต้นธุดงค์ไปในที่ต่างๆ ขึ้นเหนือบ้าง ลงใต้บ้าง โดยไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคใดๆ ทั้งสิ้น ท่านต้องเผชิญกับความลำบากต่างๆ ถึงแม้ท่านจะต้องต่อสู้กับความหนาวเย็นของอากาศ สภาพแวดล้อมของธรรมชาติ ตลอดจนการกระทำ และความคิดเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม ของเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน แต่ท่านก้ไม่ย่อท้อ มีจิตใจเด็ดเดี่ยว พร้อมเสมอที่จะเผชิญต่ออุปสรรคต่างๆ โดยท่านคิดว่า อุปสรรคต่างๆ เป็นเครื่องพิสูจน์กำลังใจว่าจะท้อถอยหรือไม่ ท่านอาศัยความเมตตา กรุณา ที่ท่านเจริญเป็นนิตย์ กับทั้งท่านมีหลักธรรมของพระพุทธองค์เป็นอาวุธ คือธรรมาวุธ พร้อมที่จะฟันฝ่าต่ออุปสรรคทั้งหลาย ให้ลุล่วงไปด้วยดีตลอดมา

เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2364 " หลวงพ่อแก้ว " ท่านได้ธุดงค์ผ่านมาทางภาคตะวันออก และได้มาพักแรมอยู่ ณ สถานที่แห่งหนึ่งในตัวเมืองจังหวัดชลบุรี ซึ่งในสมัยนั้น จังหวัดชลบุรี ซึ่งสมัยนั้นจังหวัดชลบุรี ยังเป็นป่ารกชัฏด้วยป่าไม้เบญจพรรณต่างๆ มองไปทางไหนก็พบแต่ความเวิ้งว้างว่างเปล่าของน้ำทะเล สาเหตุเนื่องมาจากผลของสงคราม ในช่วงที่สมเด็จพระเจ้าตากสินทำการกู้   อิสรภาพนั่นเอง วัดวาอารามต่างๆ ที่ถูกทำลายก็ยังไม่ได้รับการฟื้นฟู ชาวบ้านที่อยู่ในถิ่นฐานนั้น ส่วนมากมีการศึกษาน้อย เพราะขาดการเหลียวแล จะเป็นด้วยวาสนาของชาวจังหวัดชลบุรีหรืออย่างไรไม่ทราบ ที่ทำให้ท่านธุดงค์ผ่านมาทางนี้ และด้วยเมตตาธรรมอันบริสุทธิ์ของท่าน ทำให้ท่านมีความคิดที่จะปลุกฝังญาติโยมในละแวกนั้น ให้เข้าถึงหลักธรรมของพระพุทธองค์ จึงปักกลดอยู่ที่นั้น เพราะความน่าเลื่อมใสของท่าน ชาวบ้านในละแวกนั้นต่างก็นำอาหารมาทำบุญ ส่วนชาวบ้านที่นิยมของขลัง เมื่อเห็นพระรุกขมูลมา และมีวัตรปฎิบัติแปลกว่าพระธุดงค์รูปอื่นก็เกิดความเลื่อมใส เข้าไปขอเครื่องรางของขลังกับท่าน ส่วนท่านเมื่อมีญาติโยมมาหาท่านก็เชื้อเชิญต้อนรับด้วยธัมมปฏิสันถาร เพราะท่านมีธรรมเป็นเครื่องให้ เมื่อใครเอ่ยปากขอของขลังจากท่าน ท่านก็ให้ของขลัง และของที่ให้ก็ดีจริงๆ อันประกอบไปด้วยบทคาถามหามนต์ขลัง เพราะการเดินธุดงค์ท่านจะหอบหิ้วเอาวัตถุของติดตัวมาด้วยนั้น ท่านคงหอบหิ้วไม่ไหวแน่ ท่านคงมีแต่บทคาถามหามนต์ขลัง เมื่อเขาออกปากท่านก็ให้ ตามหลักกตัญญูกตเวทิตาธรรม ตามที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้ คือให้คาถาบทภาวนา ระลึกถึงพระรัตนตรัย เมื่อญาติโยมในระแวกนั้นเกิดความเลื่อมใส ทำให้ท่านเริ่มบูรณะซากสลักหักพัง ของวัดร้างวัดหนึ่ง โดยได้รับความร่วมมือจากญาติโยมในละแวกนั้นเป็นอย่างดีจนพอใช้การได้แล้ว ท่านก็ได้ตั้งชื่อว่า " วัดเครือวัลย์ " คงถือเอานิมิตที่มีเถาวัลย์ปกคลุมอยู่มากมายก็ได้ หลังจากนั้น ท่านก็ได้อบรมสั่งสอนประชาชนให้เข้าถึงหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา จนมีผู้แสดงตนเป็นอุบาสก-อุบาสิกา เข้าถึงพระรัตนตรัย ส่วนผู้ที่มีศรัทธากล้าก็เข้ามาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา ท่านก็อบรมสั่งสอนด้วยหลักธรรมต่างๆ ตามภูมิธรรมของบุคคลนั้นๆ

หลวงพ่อแก้ว ท่านเป็นพระที่มีคุณธรรมสูง มีคุณธรรมเป็นเวทย์มนต์ คาถาขลังและศักดิ์สิทธิ์ ท่านตั้งอยู่ในพรหมวิหารธรรม มี เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เป็นภาคพื้นในจิตใจของท่าน จิตใจของท่านเปี่ยมไปด้วยความรัก และความสงสารในสัตว์โลก พลอยยินดีด้วยเมื่อเห็นเขาได้ดี และวางใจเป็นกลาง ไม่ดีใจและไม่เสียใจเมื่อผู้อื่นถึงความวิบัติ อาศัยความที่ท่านเป็นผู้ที่มีเมตตาจิตสูงเช่นนี้ ท่านจึงชอบสร้างพระเป็นรูปพระปิดตา เพราะพระปิดตาแบบนี้เป็นสัญญาลักษณ์แห่งการไม่ดูไม่มองอะไร คือไม่เพ่งโทษ และหาโทษผู้อื่น ตั้งความเมตตาและกรุณา เที่ยงตรงต่อมนุษย์และสัตว์อื่นเสมอกันหมด ดุจดังพื้นแผ่นดินที่มั่นคง ไม่ยินดียินร้ายในของหอมและของเหม็นที่พวกมนุษย์ทิ้งลงแผ่นดิน ฉะนั้นหลวงพ่อแก้ว ท่านวางจิตเป็นกลาง ไม่รักคนนี้ เกลียดคนนั้น หรือชังคนโน้น ไม่ปรารถนาให้ใครเดือดร้อนเพราะท่าน ท่านถือหลักว่า ใครใคร่ลาภ จงได้ลาภ ใครใคร่บุญ จงได้บุญ ดังนี้

            วิธีสร้างผงของหลวงพ่อแก้ว การสร้างพระปิดตาหลวงพ่อแก้วนั้น ก็ไม่มีอะไรมากนัก โดยปกติแล้ว หลวงพ่อแก้ว ท่านเป็นผู้มีอุปนิสัยละเอียดรอบคอบเป็นปกติ ท่านเป็นผู้เห็นการณไกลคือ ในขณะที่ท่านสอนบาลีไวยากรณ์อยู่นั้น ท่านก็ได้เก็บเอาผงที่ลบจากอักขระเอาไว้ เพราะการสอนหนังสือในสมัยนั้นจะต้องเขียนต้องลบตัวอักขระบนกระดานดำจริงๆ และนิยมกันว่า ผงอักขระที่ลบจากการเรียนภาษาบาลี ซึ่งเขียนเป็นอักษรขอมที่มีความขลังและศักดิ์สิทธิ์ แล้วท่านก็จะนำมาผสมกับผงพระพุทธคุณ หรือผงมหาราช เป็นต้น เมื่อเอาผงดินสอ และผงพุทธคุณรวมกันเข้าแล้ว ท่านก็เอาเกษรดอกไม้ต่างๆ ใบไม้ เปลือกไม้ และเนื้อไม้ มาบดให้ละเอียดเป็นผง แล้วจึงนำมาผสมกับผงอักขระ เอาน้ำข้าวมาคละเคล้าเข้ากับผง เพื่อทำให้เหนียว จนได้หล่อเป็นรูปพระ การผสมผงเพื่อสร้างเป็นรูปพระหลวงพ่อแก้วนั้น ท่านเอาผงคุณพระกับผงดินสอที่ท่านเขียนอักขระบนกระดานดำ เอาผงทั้งสองอย่างนั้นมาผสมกันเข้าไว้ แล้วเอาใบไม้ ที่เรียกกันว่า ใบไม้รู้นอนต่างชนิด เช่น ยอดสวาท เป็นต้น เอาเกษรดอกไม้บ้าง มาบดเป็นผงให้ละเอียด ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันด้วยดีแล้ว จึงเอาน้ำข้าวเหนียวมาผสมทำให้เหนียว จึงเอากดลงในแม่พิมพ์ ก็สำเร็จเป็นองค์พระ อนึ่ง ชีวประวัติของหลวงพ่อแก้ว อดีตเจ้าอาวาสวัดเครือวัลย์ จังหวัดชลบุรีนี้ อาจจะไม่ตรงกับที่ท่านได้ยินได้ฟังมา เพราะประวัติของท่านอาจมีผู้จำมาคลาดเคลื่อน ซึ่งมีความผิดแปลกกันไปต่างๆ ตามที่ตนเข้าใจ ผู้เขียนได้เขียนตามคำบอกเล่าของคนหลายคน ซึ่งเป็นผู้ใกล้ชิดและทราบประวัติของท่านได้ดี อีกทั้งเป็นผู้มีญาติพี่น้องที่เห็นเหตุการณ์ในสมัยนั้นเล่าให้ฟัง ซึ่งพอมีหลักฐานพอเชื่อถือได้ และเรื่องราวปะวัติของท่านบางตอน มีเนื้อเรื่องลงเป็นอันเดียวกัน แต่อย่างไรก็ตาม หลวงพ่อแก้วได้ล่วงลับไปแล้วนานแล้ว ชีวประวัติของท่านไม่มีผู้ใดได้บันทึกไว้เป้นลายลักษณ์อักษรที่แน่นอน อาศัยผู้เฒ่าเล่าต่อกันมา ฉะนั้น ชีวประวัติบางตอนอาจคลาดเคลื่อนไปบ้าง จึงหวังว่าหากตอนใดขาดตกบกพร่อง เพราะไม่ทราบหรือเข้าใจผิดพลาด หรือถ้าตอนใดเกิน ก็ขออย่าได้ลงโทษว่าเป็นผู้รู้ก่อนเกิดเลย เหตุที่จะเขียนก็เพื่อที่จะเล่าเรื่อง ให้ผู้ที่ยังไม่เข้าใจฟังไว้เท่านั้น และหวังว่าท่านที่ทราบประวัติของหลวงพ่อแก้วได้ถูกต้อง มีหลักฐานอ้างอิง ได้โปรดแจ้งให้ทราบเป็นวิทยาทาน และเพื่อประวัติจะได้สมบูรณ์ขึ้น เพื่อความรู้และความเข้าใจดีของอนุชนภายหลัง ที่สนใจชีวะประวัติของท่าน หากผลดีอันจะมีบ้างในการเรียบเรียงชีวประวัติของท่าน ผู้เขียนขอน้อมอุทิศถวายแด่หลวงพ่อแก้วที่ทำให้วัดเครือวัลย์ จังหวัดชลบุรี เป็นที่รู้จักของสาธารณชนสืบต่อกันมา
(  ข้อมูลดังกล่าวมาจากหนังสืออนุสรณ์ ทำบุญครบ ๑๐๐ ปี ของหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ จัดพิมพ์โดยพระชลธารมุนี เจ้าอาวาสวัดเครือวัลย์ เมื่อวันที่ ๓๑ ธันวาคม  ๒๕๑๙  พิมพ์ที่ โรงพิมพ์ชลวุฒิการพิมพ์ ถนนโพธิ์ทอง อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี  )

วัดเครือวัลย์ มีเจ้าอาวาสตั้งแต่เริ่มสร้างวัด จนถึง ปัจจุบัน  มีจำนวน ๕ รูป ด้วยกัน คือ

๑. หลวงพ่อแก้ว         
๒. พระอุปัชฌาย์ถัน  จนฺทโชโตเถระ 
๓. พระอธิการบ๊วย  สงฺกรกิจโจ   
๔. พระเทพชลธารมุนี  
๕. พระมหาเสถียรพงษ์ สถิรวํโส 

ประวัติเจ้าอาวาสแต่ละรูปมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

๑.  หลวงพ่อแก้ว
หลวงพ่อแก้ว เกิดที่เพชรบุรี เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๓๔๖ - ๒๓๕๑  ในสมัยรัชกาลที่ ๑ เมื่อท่านบวชเรียนแล้ว ท่านได้ออกธุดงค์มาถึงเมืองชล ปักกลดจำพรรษา สงเคราะห์ญาติโยมในระแวกใกล้เคียง ท่านเป็นเจ้าอาวาสรูปแรกของวัดเครือวัลย์ เป็นพระภิกษุผู้แก่กล้าทางวิชาอาคม พุทธาคมสูงล้ำทางด้านเมตตามหานิยม
ท่านได้สร้างวัตถุมงคลบอดแห่งพระภควัมปติ พระปิดตาที่มิอาจประเมินค่า ไว้เป็นมรดกแห่งศรัทธาอันดับหนึ่งแห่งพระปิดตาเบญจภาคี ไว้มากมายหลายแบบ หลายขนาดเป็นเนื้อผงคลุกรัก จุ่มรักสีเหลืองอมน้ำตาลเข้ม มีการแยกแยะพิมพ์ไว้ ๓ พิมพ์ คือ พิมพ์เล็ก พิมพ์กลาง และพิมพ์ใหญ่       หลังองค์พระมีทั้งหลังเรียบและหลังแบบ
หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ มรณภาพ เมื่อช่วงประมาณ พ.ศ. ๒๔๒๖ - พ.ศ. ๒๔๓๑ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ อายุประมาณ ๘๕ - ๙๐ ปี เนื่องจากท่านเป็นพระในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ในการระบุปีเกิดรวมถึงอายุ และปีที่มรณะ ล้วนแต่เป็นการคาดคะเน และมีคำบอกเล่าต่อๆ กันมา ในการคาดคะเนของบางแหล่งข้อมูลก็ระบุว่า ท่านอาจะเป็นองค์เดียวกันกับ หลวงพ่อแก้ว วัดปากทะเล จังหวัดเพชรบุรี ก็เป็นได้
( ข้อมูลดังกล่าว มาจากหนังสือภาพประวัติ พระเมืองชล จัดทำโดย นายธีรชัย ทองธรรมชาติ นายกยุวธิกสมาคมชลบุรี ในพระสังฆราชูปถัมภ์ พิมพ์ครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๕๑ พิมพ์ที่ บริษัท พันนา บรรจุภัณฑ์ ๓๕ ซอยพิพัฒน์ ถนนสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร )

๒. พระอุปัชฌาย์ถัน  จนฺทโชโตเถระ

หลวงพ่อถัน สถานะเดิมชื่อ ถัน เกิดเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๐ ณ บ้านศาลาคู่ ต.บ้านสวน อ.เมือง จ.ชลบุรี
อุปสมบทเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๓๑  ณ วัดเครือวัลย์ อ. เมือง จ. ชลบุรี
หลังจากอุปสมบทแล้ว ท่านได้ศึกษาหาความรู้ต่างๆ ในหลายๆ ด้าน ไปไกลจนถึงประเทศพม่า ท่านมีความสามารถในการเขียนอักขระเลขยันต์ต่างๆ และเพียรศึกษาไสยเวทย์ วิทยาคม จากอาจารย์สำนักต่างๆ มากมาย ภายหลังท่านได้กลับมาปกครองวัดเครือวัลย์ อ.เมือง จ.ชลบุรีต่อจากหลวงพ่อแก้ว เจ้าอาวาสวัดเครือวัลย์ ท่านคือผู้ที่สร้างหอสวดมนต์ศาลาการเปรียญและอุโบสถวัดเครือวัลย์
ท่านเป็นพระที่มีชื่อเสียง เป็นพระร่วมสมัยกับหลวงพ่อเจียม วัดกำแพง เป็นกรรมการสงฆ์ ตำแหน่ง พระวินัยธรถัน  ผู้บัญชาการหมวดบางปลาสร้อย ปกครองแขวงเมืองชลบุรี ในปี พ.ศ. ๒๔๕๙ ร่วมกับพระวินัยธรถมยา เจ้าคณะหมวดวัดกลาง เจ้าอธิการคงเจ้าคณะหมวดวัดเนินสุทธาวาส  พระปลัดฮง เจ้าอาวาสวัดราษฏร์บำรุง และพระวินัยธรแดง เจ้าอาวาสวัดใหญ่อินทาราม
หลวงพ่อถัน เป็นพระที่มีเมตตาธรรมสูง มีบารมีแก่กล้า เป็นแพทย์แผนโบราณและโหราจารย์ ดูแลชาวบ้านรักษาทั้งร่างกายและจิตใจของชาวบ้านและชาววัด เป็นพระผู้เชี่ยวชาญในเวทมนต์คาถาอาคมต่างๆ
พระอุปัชฌาย์ถัน มรภาพเมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๙ สิริอายุรวม ๕๙ ปี พรรษา ๓๗
( ข้อมูลดังกล่าว มาจากหนังสือภาพประวัติ พระเมืองชล จัดทำโดย นายธีรชัย ทองธรรมชาติ นายกยุวธิกสมาคมชลบุรี ในพระสังฆราชูปถัมภ์ พิมพ์ครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๕๑ พิมพ์ที่ บริษัท พันนา บรรจุภัณฑ์ ๓๕ ซอยพิพัฒน์ ถนนสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร )

๓. พระอธิการบ๊วย สงฺกรกิจฺโจ

พระอธิการบ๊วย สถานะเดิมชื่อบ๊วย หิงคานนท์ เป็นชาวชลบุรีโดยกำเนิด เกิดในตัวเมืองชล บริเวณตรอกต้นจัน ตำบลบางปลาสร้อย อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี เมื่อวันจันทร์ แรม ๒ ค่ำ เดือน ๙ ปีวอก พ.ศ. ๒๔๒๗ บิดาชื่อ นายเฮง มารดา ชื่อ นางหมา นามสกุล หิงคานนท์ อุปสมบท ณ วัดเครือวัลย์ ตำบลมะขามหย่ง อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี โดยมีพระวินัยธรถัน เจ้าอาวาสวัดเครือวัลย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับ ฉายา สงฺกรกิจฺโจ
หลวงพ่อบ๊วย เมื่อบวชเรียนแล้ว ท่านได้ศึกษาวิชาอาคม รวมทั้งศึกษาตำรายาต่างๆ เป็นพระแพทย์แผนโบราณ รวมถึงท่านยังเป็นหอต่อกระดูกจากหลวงพ่อถัน ช่วยเหลือชาวบ้านชาววัด ช่วยรักษาพยาบาลคนเจ็บไข้ด้วยการแพทย์แผนโบราณ จนมีผู้ศรัทธาเลื่อมใส เป็นจำนวนมาก
หลวงพ่อบ๊วย ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดเครือวัลย์ จังหวัดชลบุรี ต่อจากหลวงพ่อถัน ท่านได้ทำการรวบรวมผงเก่ามวลสารหลวงพ่อแก้วที่ได้รับตกทอดต่อมาจากหลวงพ่อถัน ซึ่งเป็นพระอาจารย์นำสร้างเป็นพระปิดตา สืบสานดำเนิน รอยตามอดีตบูรพาจารย์แห่งวัดเครือวัลย์ ที่สร้างพระปิดตาหลวงพ่อแก้ว อันโด่งดัง พระปิดตาที่ท่านสร้างไว้มีจำนวนสามพิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่หลังเจดีย์สถูปเจดีย์นูน พิมพ์ใหญ่ลังยันต์ และพิมพ์เล็กหลังแบบ เป็นที่เสาะแสวงหาของนักนิยมพระปิดตา สายเมืองชลบุรี มาตลอด

หลวงปู่บ๊วย มรณภาพ เมื่อวันพุธ แรม  ค่ำ เดือน ๕ ปีมะโรง พ.ศ. ๒๕๐๗ สิริอายุ ได้ ๘๐ ปี

๔. พระเทพชลธารมุนี ( วิเชียร  จิตฺตวิริโย )

            พระเทพชลธารมุนี สถานะเดิม วิเชียร ห้องศิลป์ เกิดวันอังคารที่ ๒๑ มกราคม ๒๔๕๔ ตำบลหนองไม้แดง อ.เมือง  จ.ชลบุรี  บุตรของนายเผือก และนางชุ้น ห้องศิลป์
อุปสมบทเมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๔๗๖
ณ วัดเครือวัลย์ จ. ชลบุรี มีพระครูอรรถจารีอุดมคุณ     
( พระชลธารธรรมวาที )  วัดราษฎร์บำรุง อ.เมือง             จ. ชลบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์ มีพระอธิการบ๊วย วัดเครือ-วัลย์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์  และพระครูวุฒิกรโกศล วัดนอก อ.เมือง จ.ชลบุรี เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า   จิตฺตวิริโย
การศึกษา จบมัธยมการศึกษาปีที่ ๓  โดยการสมัครสอบจังหวัดชลบุรี สอบได้ ป.ธ.๖ สำนักเรียนวัดอนงคาราม กรุงเทพฯ เป็นเลขานุการเจ้าอาวาสและสำนักเรียนวัดทองนพคุณ ต่อมาได้เป็นเจ้าอาวาสวัดเครือวัลย์ จ.ชลบุรี ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ ที่พระครูพิศาลชโลปมคุณ ต่อมาได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะสามัญที่ พระชลธารมุนี  เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่           พระราชพุทธิรังษี และชั้นเทพที่ พระเทพชลธารมุนี
ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดชลบุรี ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๗ จนถึงปี ๒๕๔๒ แล้วเลื่อนไปเป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดชลบุรี ท่านเป็นพระเถระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย ดำรงสมณเพศด้วยความเรียบง่าย อัธยาศัยไมตรีดี เป็นที่ยึดเหนี่ยวของญาติโยมได้เป็นอย่างดี ยึดพรหมวิหารธรรม และสังคหวัตถุธรรม เป็นหลักปฏิบัติ
ท่านได้จัดสร้างวัตถุมงคลไว้หลายแบบหลายอย่าง แจกจ่ายญาติโยม นำปัจจัยไปบำรุงเสนาสนะของวัดเครือวัลย์ ซึ่งอดีตเป็นวัดเก่าโบราณ โบสถ์ ศาลา กุฎิชำรุดทรุดโทรม ได้ถูกซ่อมสร้างให้มีความคงทนถาวรขึ้นในสมัยที่ท่านเป็นเจ้าอาวาส เป็นที่มาของพระปิดตา หลวงพ่อแก้ว เพราะท่านชื่อว่า วิเชียร แปลว่าแก้วอาศัยชื่อวัดเครือวัลย์ ก็ต้องทำพระปิดตาเพราะมีชื่อเสียงมาช้านาน ที่ยังคงรูปแบบดั้งเดิม มีการผสมผงเก่าหลวงพ่อแก้ว และสรรสร้างแม่พิมพ์ให้มีความสวยงามมากกว่าเดิม จึงเป็นที่เสาะแสวงหาของนักสะสมพระปิดตาเมืองชล
ท่านเป็นพระเถระที่มีพรรษายุกาลยืนยาว มรณภาพเมื่อวันที่ ๒ กันยายน ๒๕๔๖ รวมสิริอายุได้ ๙๒ ปี พรรษา ๗๐

๕. พระมหาเสฐียรพงษ์ สถิรวํโส เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

r พระมหาเสถียรพงษ์ สถิรวํโส  
เกิดเมื่อวันที่ ๕ ตุลาคม  ๒๕๐๕ 
ณ บ้านเลขที่ ๑๘๖ หมู่ ๗ ตำบลหนองเหียง
อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี
บิดา ชื่อ จสต. กิตติศักดิ์ ลิยงค์
มารดา ชื่อ นางบังอร ลิยงค์                            
อุปสมบทเมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๖
ณ อุโบสถวัดเครือวัลย์ ตำบลมะขามหย่ง
อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี
มีพระเทพชลธารมุนี เจ้าอาวาสวัดเครือวัลย์
เป็นอุปัชฌาย์
มีพระนิทัศน์ นิสโภ เป็นพระกรรมวาจาจารย์
และมีพระครูอนุกูลสุตกิต  เป็นอนุสาวนาจารย์

ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส เมื่อวันที่ ๑๔  พฤษภาคม ๒๕๔๗ จนถึงปัจจุบัน

ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าคณะตำบลบางปลาสร้อย อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี

สอบนักธรรมชั้นเอก ได้ปี พ.ศ. ๒๕๓๘

สอบ เปรียญธรรม ๘ ประโยค ได้ปี พ.ศ. ๒๕๕๐

สำเร็จปริญญาตรี คณะเศรษฐศาสตร์บันฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๖

สำเร็จปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์บันฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช  เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๑

 
 
บล็อกอื่นๆที่เขียนโดยเพื่อนสมาชิกท่านนี้
เจ้าสัว2เนื้อนวะเลี่ยมทอง%สูงพร้อมใช้ครับผม
เหรียญพระพุทธโสธร พ.ศ.2535 เหรียญดีพิธีใหญ่รวมเกจิอาจารย์ดังแห่งยุคร่วมปลุกพุทธาเษก หลวงพ่อเริ่ม หลวงปู่ม่น และอื่นๆอีกมากมายคุ้มค่าเกินบรรยาย มี 12 เหรียญ จะรับหมดหรือแยกเดี่ยวได้หมดครับผม
เหรียญพระพุทธโสธร พ.ศ.2535 เหรียญดีพิธีใหญ่รวมเกจิอาจารย์ดังแห่งยุคร่วมปลุกพุทธาเษก หลวงพ่อเริ่ม หลวงปู่ม่น และอื่นๆอีกมากมายคุ้มค่าเกินบรรยาย มี 12 เหรียญ จะรับหมดหรือแยกเดี่ยวได้หมดครับผม
 
 
ความคิดเห็น (ทั้งหมด 0)
 
 
แสดงความคิดเห็น
 
Color Picker

 
 
 
 
บล็อกล่าสุด
เหรียญหล่อ โบราณเก่าหนาๆไม่รู้ที่300 โดย NoBoos59
เคาะเดียว 300 โดย NoBoos59
เหรียญหลวงพ่อเอียรุ่นสอง โดย สุวรรณปัญโญ
เหรียญหลวงพ่อขำ วัดสหกรณ์ โดย naifaun
เหรียญหลวงพ่อรุ่ง ออกวัดสวนส้ม โดย สุวรรณปัญโญ
พระเก่าครับ 300 โดย มหาเทพประทานพร
พระไม่ทราบที่ครับ 250 โดย มหาเทพประทานพร
เหรียญจอบเล็ก ปี 16 สวยมาก โดย สุวรรณปัญโญ
ปิดตาเมฆพัส เก่า ไม่ทราบที่ โดย ody6254
เหรียญ 7 รอบ หลวงปูเจือ เนื้อชินตะกั่ว โดย NoBoos59
 
ความเห็นล่าสุด
ณัฐสุราษฏร์ ที่ เหรียญลูกเคลือบ หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ ปี35 สภาพน่ารักครับ
rattha ที่ เหรียญทวดเย็น วัดวังไทร
หลงเมืองทอง ที่ เหรียญพระแก้วมรกตฤดูร้อนปี 2525 บล็อกนิยมเนื้อเงินสวยครับ1300ปิด
AnnopNOK ที่ เหรียญรุ่นแรก พระอาจารย์โทน วัดวังโพรงเข้ เนื้อทองฝาบาตร ตอกโค๊ต จารหน้าหลัง
ooynat1 ที่ เหรียญเก่าไม่รู้ที่เคาะเดียว500
Winnerrr ที่ เหรียญหลวงปู่ทวดปี37เนื้อเงินขัดเงาพร้อมตลับเงิน5ซม.เคาะเดียว
Gooody ที่ พระพิฆเนศวร์ รุ่นแรก เฉลิมพระเกียรติครองราช ชุดองค์นำฤกษ์ องค์บูชา ๔นิ้ว no.๖๘๙ ...พร้อมภาพถ่ายในพิธี .... @ 25000
เอกอนันต์ร ที่ หลวงปู่จันทร์ เขมิโย วัดศรีเทพ ยันต์วัด ตัดนิยม
รัตนบารมี789 ที่ หลวงพ่อจวน สวยเดิม
jaroon777 ที่ เหรียญพระสยามเทวาธิราช ปี15 (เนื้อเงิน) ประกันเนื้อเงินครับ
 

Copyright 2002-2013, All Rights Reserved. สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ลิขสิทธิ์ & นโยบายส่วนตัว
ติดต่อฝ่ายสมาชิก โทร 099-065-9977,095-503-6981,099-065-9911,084-215-5679,,091-734-5975,
  ฝ่ายร้องเรียน 091-734-5975,062-932-5335   สอบถามเซอร์พระ 099-065-9977,062-932-5335
เปิดทำการทุกวัน เวลา 09.00 - 18.00 น. วันหยุดนักขัตกฤษ์ เวลา 09.00 - 17.00 น. หรือ Email:
[email protected]